Java Array

        array คือ การเก็บค่าเป็นชุดๆที่มี Data type เดียวกันของตัวแปรตัวหนึ่ง โดยแต่ละค่าในชุดของตัวแปรนั้น แต่ละตัวจะมี Index ไว้ชี้ตำแหน่งของตัวเอง (ภาษาบ้านๆก็คือ ตัวแปรตัวเดียวเก็บค่าได้หลายค่าที่มี Data type เดียวกัน เข้าถึงแต่ละตัวได้โดยอ้างอิงถึง Index ของค่านั้น) โดย Index จะเริ่มนับจาก 0 ขึ้นไปเรื่อยๆ
ตามจำนวนค่าที่เก็บ
เช่น ตัวแปรประเภท int ชื่อ x เก็บค่า {10,20,30,40}


การประกาศ array ใน java ทำได้ 2 วิธี ดังนี้


int[] number1; (นิยมกว่า) หรือ int number2[]; 

 array เป็น object type ประเภทหนึ่งข้างต้นเป็นแค่การประกาศซึ่งยังไม่ได้สร้าง object กำหนดขนาดและค่าให้กับมัน ดังนั้น ค่ายังเป็น null อยู่ ในการกำหนด ทำได้ดังนี้


int[] x = new int[2]; // อันนี้เป็นการกำหนดขนาด
x[0] = 10; // อันนี้เป็นการกำหนดค่า
x[1] = 20; // อันนี้เป็นการกำหนดค่า

ที่สำคัญมากควรจำ คือ เมื่อ array ที่มีการสร้างและกำหนดขนาดแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดได้

ใน java สามรถกำหนดขนาดและค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรประเภท array ตอนประกาศได้ ทำได้ดังนี้


int[] x = new int[]{10,20,30};
หรือ
String[] name = {"DOM","DANG","PON"}
ก็ได้
ในการประกาศดัง 2 ตัวอย่าง ข้างบน ขนาดของ array ไม่ต้องระบุ Compiler จะนับให้เราเอง

คุณสามารถอ้างถึงขนาดของ array ได้ โดยใช้คำสั่ง .length
ตัวอย่าง
int[] x = new int[10];
int y = x.length; // y จะมีค่าเท่ากับ 10

ในการที่ต้องการ print ค่าในตัวแปร array ออกมาดูว่าเก็บค่าอะไรบ้างก็ทำได้โดยใช้ loop ต่างๆ เช่น



ในบางครั้งหากคุณต้องการหาค่าต่ำสุดหรือค่าสูงสุดในตัวแปร array ก็ต้องคิดอัลกอรึทึมกันซะหน่อย

หาค่าน้อยที่สุด




หาค่ามากที่สุด



The Array class คือ class ที่เขียนอังกอรึทึมการทำต่างๆเกี่ยวกับ arrays ไว้แล้วเพื่อให้พวกคุณเรียกใช้ง่ายๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องมานั่งคิดอังกอรึทึมเอง

ในการใช้ Array class ต้อง import java.util.Arrays; ด้วยนะ

อังกอรึทึมที่เขาเขียนไว้แล้วให้เราเรียกใช้มีเยอะแยะมากมายหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากการอ่าน java.doc ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง 2 อย่างคือ 

1.Arrays.toString() เป็นการแปลง array เป็น String ช่วยในการ print ผลลัพธ์เป็น String ทำให้ดูผลลัพธ์ได้ง่ายขึ้น



2.Arrays.sort(); เป็นการจัดลำดับตำแหน่งของค่าใหม่โดยให้เรียงจากน้อยไปมาก











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น